เมนู

7. ปฐมเคลัญญสูตร



ว่าด้วยควรเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ



[374] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคาร-
ศาลา ป่ามหาวัน กรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาค-
เจ้าเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จเข้าไปยังศาลาคนไข้ แล้วประทับนั่งบน
อาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ รอกาลเวลา นี้เป็นคำเรา
สั่งสอนพวกเธอ.
[375] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมเป็นผู้มีสติอย่างไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีปกติเห็นกายใน
กายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
เสีย ย่อมเป็นผู้มีปกติเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
สติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมเป็นผู้มีปกติเห็นจิตในจิต
อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
ย่อมเป็นผู้มีปกติเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็น
ผู้มีสติอย่างนี้แล.
[376] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมเป็นผู้มีสัมปชัญญะ
อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีปรกติทำ
ความรู้สึกตัวในการก้าวไป ในการถอยกลับ ย่อมเป็นผู้มีปกติทำความ

รู้สึกตัวในการแล ในการเหลียว ย่อมเป็นผู้มีปกติทำความรู้สึกตัวในการ
คู้เข้า เหยียดออก ย่อมเป็นผู้มีปกติทำความรู้สึกตัวในการทรงผ้าสังฆาฏิ
บาตรและจีวร ย่อมเป็นผู้มีปกติทำความรู้สึกตัวในการกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม
ย่อมเป็นผู้มีปกติทำความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ย่อมเป็นผู้มี
ปกติทำความรู้สึกตัวในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด นิ่ง ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ รอกาลเวลา นี้เป็นคำเรา
สั่งสอนพวกเธอ.
[377] ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาท มีความ
เพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้ สุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เธอย่อมรู้อย่างนี้ว่า
สุขเวทนานี้ บังเกิดขึ้นแล้วแก่เราแล ก็แต่ว่าสุขเวทนานั้นอาศัยจึงเกิดขึ้น
ไม่อาศัยไม่เกิดขึ้น อาศัยอะไร อาศัยกายนี้เอง ก็กายนี้แลไม่เที่ยง ปัจจัย
ปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น ก็สุขเวทนาอาศัยกายจึงไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยกันเกิดขึ้นแล้วจึงเกิดขึ้น จักเที่ยงแต่ที่ไหน ดังนี้ เธอย่อมพิจารณา
เห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับ ความสละคืน
ในกายและสุขเวทนาอยู่ เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อมไป
ความคลายไป ความดับ ความสละคืนในกายและสุขเวทนาอยู่ ย่อมละ
ราคานุสัยในกายและในสุขเวทนาเสียได้.
[378] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติสัมปชัญญะ
เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้ ทุกขเวทนาย่อม
บังเกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ทุกขเวทนานี้ บังเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็แต่ว่าทุกขเวทนานั้น อาศัยจึงเกิดขึ้น ไม่อาศัยไม่เกิดขึ้น อาศัยอะไร

อาศัยกายนี้เอง ก็กายนี้แลไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น ก็
ทุกข์เวทนาอาศัยกายอันไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น แล้วจึง
บังเกิดขึ้น จักเที่ยงแต่ที่ไหน ดังนี้ เธอย่อมพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับ ความสละคืนในกายและในทุกข-
เวทนาอยู่ เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อมไป ความคลายไป
ความดับ ความสละคืนในกายและในทุกขเวทนาอยู่ ย่อมละปฏิฆานุสัย
ในกายและในทุกขเวทนาเสียได้.
[379] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติสัมปชัญญะ
เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดียวอยู่อย่างนี้ อทุกขมสุขเวทนา
ย่อมบังเกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า อทุกขมสุขเวทนานี้บังเกิดขึ้นแล้ว
แก่เรา ก็แต่ว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น อาศัยจึงเกิดขึ้น ไม่อาศัยไม่เกิดขึ้น
อาศัยอะไร อาศัยกายนี้เอง ก็กายนี้แลไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัย
กันเกิดขึ้น ก็อทุกขมสุขเวทนาอาศัยกายอันไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัย
กันเกิดขึ้น แล้วจึงบังเกิดขึ้น จักเที่ยงแต่ที่ไหนดังนี้ เธอย่อมพิจารณาเห็น
ความไม่เที่ยง ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับ ความสละคืนในกาย
และในอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความ
เสื่อมไป ความคลายไป ความดับ ความสละคืนในกายและในอทุกขมสุข-
เวทนาอยู่ ย่อมละอวิชชานุสัยในกายและในอทุกขมสุขเวทนาเสียได้.
[380] ถ้าภิกษุนั้นเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า สุขเวทนานั้นไม่
เที่ยง ไม่น่าหมกมุ่น ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ฯ ล ฯ
ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่

น่าหมกมุ่น ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจาก
กิเลสเสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจาก
กิเลสเสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศ
จากกิเลสเสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น ภิกษุนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นสุด
ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่าเมื่อตายไป เวทนา
ทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลิน จักเป็นความเย็นในโลกนี้ทีเดียว.
[381] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัย
น้ำมันและไส้จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้ ประทีปนั้นไม่มีเชื้อ
พึงดับไปฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนั้น ถ้าเสวยเวทนามีกายเป็นที่ดี
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อตายไป เวทนา
ทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินจักเป็นความเย็นในโลกนี้ทีเดียว.
จบ ปฐมเคลัญญสูตรที่ 7

อรรถกถาปฐมเคลัญญสูตรที่ 7



พึงทราบวินิจฉัยในปฐมเคลัญญสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้.
บทว่า เยน คิลานสาลา เตนุปสงฺกมิ ความว่า พึงผู้มี-
พระภาคเจ้า ทรงดำริว่า ภิกษุทั้งหลายคิดว่า แม้ตถาคต เป็นบุคคลผู้เลิศ
ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ยังเสด็จไปที่อุปัฏฐากคนไข้ พวกภิกษุไข้ ชื่อว่า
ควรที่ภิกษุพึงบำรุง เชื่อถือแล้วจักสำคัญ พวกภิกษุไข้ อันภิกษุควรบำรุง